ปัจจุบันแม้เราจะทราบคุณประโยชน์ของโกรทฮอร์โมน แต่วิธีการสรรหาโกรทฮอร์โมนฉีดเข้าไปในร่างกายยังคงเป็นเรื่องยุ่งยาก
ซับซ้อนเกินกว่าคนทั่วไปจะปฏิบัติได้ ขณะเดียวกันยังคงเป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมและกฎหมายหากเราจะสกัดโกรทฮอร์โมน
จากร่างกายมนุษย์คนหนึ่งและนำไปเติมให้อีกคนหนึ่ง เดิมทีมีความพยายามนำต่อมพิทูอิทารี่จากศพผู้ป่วยที่เสียชีวิตแล้วเพื่อนำ
มาสกัดเอาโกรทฮอร์โมนออกมาเก็บรักษาไว้ก่อนที่แพทย์จะนำไปฉีดเข้าสู่ร่างกายผู้ต้องการรักษาวิธีการเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความวิตกว่าจะเกิดผลกระทบในมุมกว้างหากความต้องการโกรทฮอร์โมนขยายตัวมากจนกลายเป็นธุรกิจการแพทย์เต็มตัว เพราะราคาค่างวดการฉีดโกรทฮอร์โมนนี้สูงมากครั้งละหลายหมื่นบาท คงจะเกิดการละเมิดศพ ทำให้ผู้ป่วยบางคนไม่สมควรตายต้องกลายเป็นศพ จนรัฐบาลบางประเทศต้องออกกฎหมายระงับการนำโกรทฮอร์โมนจากศพมาใช้กับมนุษย์โดยเด็ดขาด
ซับซ้อนเกินกว่าคนทั่วไปจะปฏิบัติได้ ขณะเดียวกันยังคงเป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมและกฎหมายหากเราจะสกัดโกรทฮอร์โมน
จากร่างกายมนุษย์คนหนึ่งและนำไปเติมให้อีกคนหนึ่ง เดิมทีมีความพยายามนำต่อมพิทูอิทารี่จากศพผู้ป่วยที่เสียชีวิตแล้วเพื่อนำ
มาสกัดเอาโกรทฮอร์โมนออกมาเก็บรักษาไว้ก่อนที่แพทย์จะนำไปฉีดเข้าสู่ร่างกายผู้ต้องการรักษาวิธีการเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความวิตกว่าจะเกิดผลกระทบในมุมกว้างหากความต้องการโกรทฮอร์โมนขยายตัวมากจนกลายเป็นธุรกิจการแพทย์เต็มตัว เพราะราคาค่างวดการฉีดโกรทฮอร์โมนนี้สูงมากครั้งละหลายหมื่นบาท คงจะเกิดการละเมิดศพ ทำให้ผู้ป่วยบางคนไม่สมควรตายต้องกลายเป็นศพ จนรัฐบาลบางประเทศต้องออกกฎหมายระงับการนำโกรทฮอร์โมนจากศพมาใช้กับมนุษย์โดยเด็ดขาด
นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงของการใช้ฮอร์โมนมนุษย์โดยตรง คือบางรายหลังจากได้รับโกรทฮอร์โมนไปแล้วมีอาการผิดปกติทางระบบฮอร์โมนเพศ เช่น ผู้หญิงมีหนวดขึ้น, ผู้ชายมีนมโตขึ้น ฯลฯ ทำให้กระแสความนิยมฉีดโกรทฮอร์โมนจากมนุษย์โดยตรง ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย แม้ว่าจะให้ผลการรักษาความรวดเร็วอย่างไรก็ตาม
ในที่สุดนักวิจัยก็ได้หันกลับมาสู่วิถีทางเสิรมสร้างโกรทฮอร์โมนตามธรรมชาติ โดยปัจจุบันพบว่ามีอยู่ 6 แนวทางที่สามารถกระตุ้นต่อมพิทูอิทารี่ให้สร้างและหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมามากขึ้น แต่ละวิธีการล้วนแล้วแต่เราเองสามารถฝึกควบคุม จัดการ ได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญใดๆ
ทั้ง 6 แนวทางจะมีผลกระตุ้นต่อมไฮโปทาลามัสโดยตรง ต่อมไฮโปทาลามัสดังกล่าวอยู่ใต้สมองใกล้ๆ กับต่อมพิทูอิทารี่และปลดปล่อยฮอร์โมน GHRF ออกไปสั่งการให้ต่อพิทูอิทารี่ผลิตและสร้าง โกรทฮอร์โมนออกมา ตามรูปแผนภูมิหน้าถัดไป
วิธีการทั้ง 6 นี้ ล้วนได้รับการยืนยันทางวิชาการว่าสามารถเพิ่มระดับโกรทฮอร์โมนได้ ยิ่งหากผสมวิธีการทั้ง 6 เข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมแล้ว จะยิ่งได้ประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น
แต่ในที่นี้เราคงหันมาขยายความเฉพาะวิธีการที่ 5 คือ การเสริมกรดอะมิโนให้กับร่างกายอย่างพอเพียง เพื่อกระตุ้นการสร้างและหลั่งโกรทฮอร์โมน ปัจจุบันล่าสุดส่วนผสมของกรดอะมิโนที่นิยมใช้กันมากคือ L-Lysine, L-glutamine, L-Glycine, L-Phenylalanine, L-Carnitine, L-Arginine สารชื่อแปลกๆ ยาวๆ เหล่านี้คือชื่อทางเคมีของกรดอะมิโน เราลองมาศึกษาคุณสมบัติและคุณประโยชน์ของกรดอะมิโนกันก่อน
ขยายความรู้เกี่ยวกับกรดอะมิโน (Amino-acid)
เราทราบกันดีว่าโปรตีนเป็นอาหานหมวดสำคัญของร่างกายที่ช่วยสร้างเสริมกล้ามเนื้อ , ผิวหนัง , เส้นเอ็น , กระดูกอ่อน , ผม , เล็บ , ขน , ต่อมไร้ท่อ , อวัยวะทั่วร่างกาย , เลือด , น้ำเหลือง , เอ็นไซม์ , ฮอร์โมน ฯลฯ ในร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยโปรตีนมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำ ( ร่างกายประกอบด้วยน้ำ 70 %) แต่ร่างกายเราไม่สามารถนำโปรตีนจากอาหารไปใช้ได้โดยตรง เนื่องจากโมเลกุลมีขนาดใหญ่เกินไป จำเป็นต้องย่อยสลายออกไปจนมีคุณสมบัติซึมผ่านเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้งานได้ สารที่ถูกย่อยจากโปรตีนจนเล็กที่สุดนี่เอง เรียกว่า กรดอะมิโน ( Amino-acid)
กรดอะมิโนจึงนับเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างมหาศาล ที่จะทำให้
- ร่างกายเจริญเติบโตทั้งกล้ามเนื้อ, กระดูก, ฟัน, ผม ฯลฯ
- ระบบประสาททำงานได้, สมองสั่งการได้
- มีภูมิคุ้มกัน – ภูมชีวิตต้านทางโรคภัยและความเสื่อม
- ทำให้วิตามินและแร่ธาตุออกฤทธิ์ต่อร่างกายได้
ยกตัวอย่างเช่น หากร่างกายขาดกรดอะมิโนชื่อ Methionine และ Taurine จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะภูมิแพ้ หรือตัวอย่างเช่นผู้สูงอายุที่ขาดกรดอะมิโนชื่อ Tyrosine, Phenylalanine, Tryptophan จะทำให้เกิดอาการ ซึมเศร้า หดหู่ เป็นต้น
ในปัจจุบันการศึกษาพบว่ามีกรดอะมิโนประมาณ 28 ชนิด แต่ที่ร่างกายมนุษย์ต้องการใช้มีอยู่ประมาณ 20 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการจัดเรียงโมเลกุลชนิดเวียนซ้าย (Levoform) ซึ่งมีอักษร L- กำกับหน้าชื่อ เช่น L-Glysine, L-Arginine ร่างกายเราสามารถนำกรดอะมิโนทั้ง 20 ชนิดมาต่อเชื่อมเรียงโมเลกุลกัน เพื่อสรรค์สร้างโปรตีนได้มากมายหลายร้อยชนิดแตกต่างกัน เช่น โปรตีนภายในฮอร์โมน , โปรตีนกล้ามเนื้อ , โปรตีนเอ็นไซม์ การสร้างโปรตีนแตกต่างกันได้ก็เพียงอาศัยการจัดเรียงกรดอะมิโนไม่เหมือนกัน , ต่อเชื่อมด้วยตำแหน่งแตกต่างกัน
80% ของปริมาณกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องใช้ ตับสามารถผลิตและสังเคราะห์ขึ้นได้เองภายในร่างกาย
20 % ของปริมาณกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการใช้ ตับไม่สามารถสร้างได้ และจำเป็นต้องทางอาหารที่อุดมโปรตีนเข้าไปทดแทน เช่น L-Lysnine, L-phenylalanine ดังนั้นผู้ทานอาหารมังสวิรัติ จึงมักพบว่าร่างกายขาด L-Lysine เนื่องจาก L-Lysine ไม่พบในถั่วและธัญญพืช แต่พบในเนื้อปลาเนื้อสัตว์ ไข่ นม เป็นต้น
ขบวนการสร้าง โกรทฮอร์โมนยิ่งต้องการใช้กรดอะมิโนมากขึ้น เพราะโครงสร้างโมเลกุลของโกรทฮอร์โมนคือ “ กรดอะมิโนกว่า 191 ชนิด ” ขณะเดียวกันฮอร์โมนทั้งหลายในร่างกาย เช่น ฮอร์โมนเพศ, ฮอร์โมนจากตับ, ฮอร์โมนจากไต ก็ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนผสมของกรดอะมิโนหลายสิบชนิดไปจนถึงหลายร้อยชนิด ตามความซับซ้อนของหน้าที่ฮอร์โมนหรือเอนไซม์
ส่วนผสมสำคัญๆ ที่ช่วยเสริมต่อมพิทูอิทารี่ให้สร้างโกรทฮอร์โมนได้มีคุณสมบัติแยกพิจารณาเป็นรายตัวดังนี้
ชื่อส่วนประกอบ | ลักษณะโดยทั่วไปและประสิทธิภาพ | คุณประโยชน์ต่อร่างกาย |
L-Lysine แอส - ไลซีน |
|
|
L-Glutamine แอล – กลูตามีน |
|
|
L-Arginine แอล- อาร์จินีน |
|
|
L-Glycine แอล - ไกลซีน |
|
|
L-Phenlalanine แอล - เฟนิลอลานีน |
|
|
L-Carnitine แอล – คาร์นิทีน |
|
|
วิตามินซี ( กรดแอสคอร์บิค ) |
|
|
วิตามินปี 6 ( ไพริดอกซิน- ไฮโดรคลอไรด์ ) |
|
|
Beta-Carotine ( วิตามิน A) |
|
|