ทฤษฎีการแพทย์ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา ได้เคยอธิบายความสำคัญของโกรทฮอร์โมนต่อร่างกายมนุษย์เพียงว่า “ มีบทบาทต่อความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในวัยเด็กและวัยรุ่น ” ซึ่งจะหมดหน้าที่การทำงานเมื่ออายุย่างเข้าวัย 20 ปี ดูเสมือนว่าบทบาทและหน้าที่ของโกรทฮอร์โมนจำกัดอยู่เฉพาะการเร่งรัดความเติบโตของร่างกายในช่วงต้นๆ ของชีวิตเท่านั้น
ต่อมาในปี ค. ศ. 1950 ดร. วลาดิเมียร์ ดิลแมน ชาวรัสเซียได้ค้นพบทฤษฎีการแพทย์ยิ่งใหญ่ โดยมีสาระสำคัญคือ “ ความแก่ชราของร่างกายมนุษย์ไม่ใช่ปรากฎการณ์ธรรมชาติที่ฝ่าฝืนไม่ได้ แท้จริงแล้วความแก่ชราเป็นโรคชนิดหนึ่งซึ่งมีสาเหตุของโรค หากเราสามารถยับยั้งรักษาสาเหตุของโรคได้มานุษย์เราก็จะคงความอ่อนเยาว์และมีสุขภาพดีดังวัยหนุ่มสาวได้อย่างยาวนาน ” การศึกษาวิจัยทางการแพทย์ต่อๆ มาจากหลายชาติทั้งโดยบังเอิญและโดยตั้งใจ ต่างทยอยออกมาระบุตรงกันว่าสาเหตุของโรคแก่ชราที่ ดร. วลาดีมีย์ ทิ้งปริศนาไว้นั้น แท้จริงแล้วคือ “ ภาวะขาดโกรทฮอร์โมนภายในร่างกาย ” นั่นเอง พูดอีกนัยหนึ่งคือ เมื่อมนุษย์อายุครบ 20 ปี ต่อมพิทูอิทารี่ภายในสมองจะหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาน้อยลง ร่างกายมนุษย์จึงเริ่มแก่, เริ่มเข้าสู่ภาวะชราภาพหลังจากอายุครบ 20 ปี ภาวะร่างกายเริ่มขาดโกรทฮอร์โมนนี้เองคือสาเหตุของโรคแก่ชรา นักวิจัยทางการแพทย์ที่มีคุณูปการต่อการค้นพบคุณประโยชน์ในมิติใหม่ของโกรทฮอร์โมน เช่น ดร. เกรช วอง, น. พ. แดเนียล รุดแมน, น. พ. เอ็ดมันด์ เชน ต่างทุ่มเทศึกษาและทดลองกับคนไข้ในคลีนิค ซึ่งผลการศึกษาและวิจัยมีการประมวลออกมาเป็นองค์ความรู้ที่มีค่า มหาศาลต่อมวลมนุษย์ชาติดังต่อไปนี้ องค์ความรู้ที่ 1ขบวนการชีวเคมีภายในเซลล์ที่เกิดขึ้นในขณะร่างกายกำลังย่อยอาหารเพื่อสร้างพลังงาน ( Metabolism) จะมีส่วนหนึ่งที่สร้างอนุมูลอิสระของออกซิเจนไปกระตุ้นให้เกิดการทำลายโปรตีนภายในเซลล์ แต่หากร่างกายมีระดับโกรทฮอร์โมนตามปกติ ( เหมือนเช่นวัยเด็ก) อนุมูลอิสระของออกซิเจนเหล่านี้จะถูกยับยั้งขัดขวางไม่ให้สามารถทำความเสียหายกับโปรตีนและเซลล์ได้ ดังนั้นโกรทฮอร์โมนจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยรักษาสภาพภายในเซลล์ให้คงความสมบูรณ์แข็งแรงได้ตลอดไป แม้จะยังคงมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้นจากการสันดาปภายในร่างกาย องค์ความรู้ที่ 2เมื่อนำโกรทฮอร์โมนฉีดเข้าไปในร่างกายคนไข้ที่ป่วยด้วยภาวะโรคเสื่อม ( Degenerative disease : โรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค) เช่น โรคหัวใจ, โรคไขข้อ, โรคไต, โรคเบาหวาน, โรคเก๊าท์ ฯลฯ พบว่าร่างกายจะตอบสนองไปในทางที่ดีขึ้น, สุขภาพร่างกายดีขึ้น อาการทรุดโทรมจากโรค ลดลง อธิบายภาษาชาวบ้านได้ว่าโรคเสื่อมเหล่านี้เกิดจากอวัยวะของร่างกายเสื่อมลงอย่างผิดปกติ ดังนั้นเมื่อได้รับโกรทฮอร์โมนเข้าไปทดแทนจึงช่วยต่อต้านและบรรเทาอาการเสื่อม, ความแก่ชราของเซลล์อวัยวะเหล่านี้โดยตรง องค์ความรู้ที่ 3เมื่อนำโกรทฮอร์โมนฉีดเข้าในร่างกายคนปกติที่ไม่ได้ป่วยเจ็บด้วยโรคเรื้อรังใดๆ พบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นภายใน
เวลาเฉลี่ย 180 วัน ดังนี้ 1. กล้ามเนื้อมีความกระชับตัวแข็งแรงขึ้น 88%
2. กล้ามเนื้อมีขนาดเพิ่มขึ้น 81 %
3. ปริมาณไขมันส่วนเกิน ลดลง 72 %
4. ออกกำลังกายได้ทนทานเพิ่มขึ้น 81 %
5. สภาพของผิวหนังโดยทั่วไปดีขึ้น 70 %
6. รอยเหี่ยวย่น, ริ้วรอยบนผิวหนัง ลดลง 61 %
7. เส้นผมงอกเพิ่มขึ้น, หยุดการหลุดร่วง 38 %
8. แผลบาดเจ็บในคนแก่หายเร็วขึ้น 55 %
9. ภูมิต้านทางต่อความเจ็บป่วยดีขึ้น 70 %
10. สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น 62 %
11. การลุกขึ้นปัสสาวะตอนกลางคือ ลดลง 57%
12. อาการผิดปกติขณะมีประจำเดือน ลดลง 39%
13. อารมณ์วูบวาบของวัยหมดประจำเดือน ลดลง 58%
14. พลังงานโดยรวมของร่างกายดีขึ้น 84%
15. สภาวะแปรปรวนของอารมณ์ ลดลง 67%
16. ประสิทธิภาพความจำดีขึ้น 62%
17. สภาพอารมณ์และทัศนคติเชิงบวกดีขึ้น 78%
18. รักษาโรคกระดูกพรุนโดยเร่งกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูกเพิ่มขึ้น
19. ฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ , ปอด , ตับ , ตับอ่อน , ไต
20. บรรเทาอาการของโรคนอนไม่หลับและผลร้ายจากการนอนไม่หลับ
21. ประสิทธิภาพการเห็นและสายตาดีขึ้น
22. ลดปริมาณไขมันที่เป็นอันตราย (LDL), เพิ่มปริมาณ HDL ในกระแสเลือด
23. ปรับความดันโลหิตให้อยู่ในภาวะปกติ
24. ก่อให้เกิดการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแบบองค์รวมและเซลล์ที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
25. กระตุ้นให้ตับสร้างสาร Insulin-like growth factor-1 (IGF-1) ช่วยปรับระดับสมดุลน้ำตาลในเลือดกรณีผู้ป่วย
เบาหวาน เนื่องจากมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับอินซูลินที่หลั่งจากตับอ่อน องค์ความรู้ที่ 4ต่อมพิทูอิทารี่ภายในสมองมีหน้าที่ผลิตโกรทฮอร์โมนและหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดจะเริ่มทำงานลดลง เมื่อร่างกายมนุษย์
อายุครบ 20 ปี โดยพบว่าอายุที่เพิ่มขึ้นนับจากวัย 20 ปีเป็นต้นไป ทุกๆ 10 ปี ระดับโกรทฮอร์โมนในร่างกายจะลดลง
อย่างน้อย 14 % หรือมากกว่า ดังนั้นค่าเฉลี่ยตามอายุจะเป็นดังนี้ อายุ 30 ปี ระดับโกรทฮอร์โมนคงเหลือ 86% ของวัยเด็ก
อายุ 40 ปี ระดับโกรทฮอร์โมนคงเหลือ 72% ของวัยเด็ก
อายุ 50 ปี ระดับโกรทฮอร์โมนคงเหลือ 58% ของวัยเด็ก
อายุ 60 ปี ระดับโกรทฮอร์โมนคงเหลือ 44% ของวัยเด็ก
อายุ 70 ปี ระดับโกรทฮอร์โมนคงเหลือ 30% ของวัยเด็ก ข้อมูลข้างต้นนี้เป็นค่าเฉลี่ย ซึ่งอาจใช้ไม่ได้กับบางคน บางกลุ่ม เราอาจเคยเห็นบางคนอายุ 30 ปี แต่ดูหง่อมราวกับอายุ 50 ปี หรือบางคนอายุ 60 ปี แต่ดูหนุ่มราวกับอายุ 40 ปี ทั้งนี้เนื่องจากมีตัวแปรอีกมากมาย เช่นภาวะโภชนาการ , สภาพแวดล้อม , สภาพจิตใจ ฯลฯ ดังนั้น จึงพบว่าบางคนอายุเพียง 40 ปี แต่มีระดับโกรทฮอร์โมนลดต่ำลงมากอยู่ในระดับเดียวกันกับคน
อายุ 60 ปี ทำให้ดูแก่ก่อนวัยอันควร องค์ความรู้ที่ 5คำอธิบายบทบาทหน้าที่ของโกรทฮอร์โมนต่อร่างกาย จึงถูกปรับปรุงใหม่เพิ่มเติมขึ้นจากความเชื่อทางการแพทย์ดั้งเดิม โดยครอบคลุมหน้าที่หลัก 6 ประการ คือ
ช่วยควบคุมและกระตุ้นระบบภูมิชีวิตหรือภูมิต้านทานของร่างกาย ( Immune system)
เร่งสร้างความเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของกระดูก, กล้ามเนื้อ, เส้นเอ็น, ประสาท
เสริมสร้างขบวนการสร้างโปรตีนภายในเซลล์ภายในอวัยวะ
เร่งรัดขบวนการเผาผลาญไขมัน, น้ำตาลให้กลายเป็นพลังงาน ลดการสะสมส่วนเกิน
เสริมสร้างการทำงานของระบบเม็ดเลือดแดง, เม็ดเลือดขาวให้สมบูรณ์แข็งแรง
เสริมสร้างความยืดหยุ่นของผิวหนัง, เนื้อเยื่อเกี่ยวพันใต้ผิวหนัง, เส้นเอ็น, กระดูกอ่อน
องค์ความรู้ที่ 6ความแก่ชราไม่ใช่เพียงความเปลี่ยนแปลงร่างกายภายนอกที่มองเห็นผิวเหี่ยวย่น, ผมหงอก, สายตาฝ้าฟางแต่ความแก่ชรา
( Aging) มีความหมายลึกซึ้งครอบคลุมไปถึงบรรดาความเสื่อมถอย ( Degeneration) ทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง, เนื้อเยื่อภายใต้ผิวหนัง, กระดูก, กล้ามเนื้อ, อวัยวะ, เม็ดเลือด, ฮอร์โมน ฯลฯ ทั้งภายนอกและภายในร่างกาย ซึ่งท้ายที่สุดก่อให้เกิดความเสื่อมถอยโดยหลักๆ คือ
ความเสื่อมร่างกายภายนอกที่มองเห็น | ความเสื่อมที่เกิดขึ้นภายในร่างกายและอวัยวะเพียงบางตัวอย่าง |
- ผิวหนังเหี่ยวย่น, มีริ้วรอย
- อ้วน มีไขมันส่วนเกิน, น้ำหนักเกินมาตรฐาน
- ผมหงอก, ผมร่วง
- สายตาสั้น, ยาว, ฝ้าฟาง
- สมรรถนะร่างกายโดยรวมลดลง
- เมื่อมีแผลบาดเจ็บ จะใช้เวลานานกว่าจะหาย | - ตับอ่อนเสื่อม ทำให้เกิดโรคเบาหวาน ฯลฯ
- ระบบเผาผลาญไขมันภายในร่างกายลดต่ำลง ทำให้มี
คอเรสโตรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง, เส้นเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจตีบตัน, ความดันโลหิตสูง ฯลฯ
- ไตเสื่อม ทำให้เกิดไตวาย, โรคเก๊าท์ ฯลฯ
- ภูมิชีวิต, ภูมิต้านทานเสื่อม ทำให้เกิดโรคมะเร็ง, ภูมิแพ้ ฯลฯ |
|